เหนื่อย เมื่อย ท้อ อ่อนแรง…

โดย พร อันทะ เมื่อ

นั่นคืออาการแรกของการกลับมานั่งดู โค้ด ของเว็บ www.thaicss.com แห่งนี้ เว็บที่ผมเขียนขึ้นมากับมือ ออกแบบมากับมือ แต่คราวนี้ เมื่อมองดูกลับรู้สึก เหนื่อยหน่ายกับมันอย่างเต็มที่ เหนื่อยหน่ายที่ไม่สารมารถตอบคำถาม ของตัวเองหลายๆ คำถาม เหนื่อยหน่ายที่การทำงานไม่เป็นระบบ ระเบียบ ยิ่งเมื่อก้าวต่อไป ไม่ใช่แค่เขียนเว็บด้วย CSS XHTML ด้วยแล้ว อาการมันเริ่มออก

ที่ว่ามาทั้งหมด มันผ่านไปแล้วครับ ผ่านไปพร้อมกับความสงสัย ว่าตัวผมเองจะทำได้หรือเปล่า ที่บอกว่า “ไม่ใช่แค่การเขียนเว็บด้วย CSS XHTML” อย่าง สองอย่างก็เพราะว่า เขียนออกมาแล้ว โค้ดที่เขียนออกมา เมื่อนำไปตรวจที่ www.w3.org แล้ว มันผ่านมาตรฐาน หรือเปล่า แค่ปล้ำกับ CSS XHTML PHP ให้ผ่านทั้ง 5 บราวเซอร์ โดยภาษาไทยไม่มีปัญหานี่ก็หนักเอาการ ยังต้องมา Validation กับ www.w3.org อีกหรือ ต้องกลับไปเริ่มใหม่??

ใช่ครับ สำหรับผม มันต้องกลับไปเริ่มใหม่ อ้าว แล้ว CSS ที่คุณ (มึง) เขียนบทความออกมาหละ หลายท่านอาจจะสงสัย สำหรับท่านที่ยังไม่รู้นะครับ ขอบอกไว้ตรงนี้ เรื่องราว CSS ที่ผมเขียน กับ CSS XHTML ที่ผมใช้ทำเว็บไทยซีเอสเอส มันดูแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง สำหรับเว็บไทยซีเอสเอสแล้ว ไม่อาจสามารถเอาโค้ดไปเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องได้มากมายนัก แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น ที่สามารถอ้างถึง แต่สำหรับ บทความที่ผมเขียน เกิดจากการทดลองทำกับเว็บใหม่ๆ อื่นๆ ที่สามารถใช้ได้จริง มาเรียบร้อยแล้วครับ และเข้าที่ เข้าทางของมาตรฐาน w3 อยู่พอสมควร แต่คงไม่หมด มี warnings บ้าง

และ สำหรับ www.thaicss.com เวอร์ชั่น 1.0 นี้ ผมขอรับรองว่า เว็บไซท์นี้ ผ่านการตรวจทั้งมาตรฐาน XHTML, CSS, XML จาก w3.org และสามารถเรียกดูได้ทั้ง 5 บราวเซอร์หลัก ซึ่งมี (Mozilla Firefox 2.0 ตัวเต็ม ไม่ต้อง Thai Patch, Opera 9, IE6, IE7, Netscape 8) โดยความตั้งใจสูงสุด ผมคงไม่อยากเห็น ตรวจแล้วผ่าน แต่มี warnings

แน่นอนครับ โรงเรียนบ้านหลุบหวายป่าขาม ไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด เว็บไซท์ thaicss.com ก็จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฉันนั้น

พร อันทะ

7 ตุลาคม 2549/00.35 น.